โดย วรศักดิ์ เนินผา

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์

 

1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะของพนักงานขับเครนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

 

2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยข้อมูลพื้นฐาน กับ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับเครน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นพนักงานขับเครนใน จังหวัดชลบุรี จานวน 124 คน โดยคำนวณตามแนวคิดของเครจซี่และมอร์แกน และวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้การิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ไคสแควร์ 

 

ผลการวิจัยพบว่า 

 

1) ปัจจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานขับเครน ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับเครน อันเนื่องมาจากพนักงานแต่ละคนได้รับมอบหมายงานในลักษณะที่ต้องปฎิบัติตามขั้นตอน กระบวนการทำงานในใบสั่งงาน ซึ่งจะต้องมีผู้ควบคุมงานกำกับในทุกขั้นตอนของการทำงาน ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอนนั้น ๆ อย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลงานตามใบสั่งงานของบริษัท ดังนั้น การมองคุณภาพงานที่ตนเองปฏิบัติอยู่จึงให้ความสำคัญกับผลของงาน จึงทำให้ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานขับเครน มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่ต่างกัน ภายใต้การใช้ทักษะเฉพาะของแต่ละคน 

 

2) ปัจจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ เพศ การผ่านการฝึกอบรมเป็นพนักงานขับเครน และประเภทของเครนที่ขับได้ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับเครน น่าจะมีสาเหตุดังต่อไปนี้ ปัจจัยข้อมูลพื้นฐานด้านเพศ พบว่า เพศชาย มีทักษะที่สูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อันเนื่องมาจากพนักงานขับเครน ส่วนใหญ่เป็นพนักงานชาย ซึ่งจะมีความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงทางกายภาพมากว่าเพศหญิง และพนักงานชายสามารถปฏิบัติงานเชิงรุกได้ดี สามารถปฏิบัติงานงานภาคสนาม งานด้านฮาร์ดแวร์ การปฏิบัติงานที่เร่งด่วน สามารถปฏิบัติงานนอกเวลาได้ ปัจจัยข้อมูลพื้นฐานด้านการผ่านการฝึกอบรมเป็นพนักงานขับเครน และด้านประเภทของเครนที่ขับได้ พบว่า พนักงานที่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี เคยผ่านการฝึกอบรมเป็นพนักงานขับเครน และด้านประเภทของเครนที่ขับได้ คือ เครนล้อยาง มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากที่สุด

 

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลการวิจัย

 

1) ผลการศึกษาทำให้ทราบความสำคัญของทักษะของพนักงานขับเครน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับเครน โดยเฉพาะทักษะทางด้าน Soft Skills ที่ต้องมีความเข้าใจทางสังคมและความต่างในวัฒนธรรม การมีผลงานและความรับผิดชอบ มีความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว มีการริเริ่มและการชี้นำตนเอง และมีภาวะความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้นจะต้องเตรียมความพร้อม ในการจัดการฝึกอบรมให้พนักงานขับเครนได้เรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะในทุกด้านที่จำเป็น จะทำให้การปฏิบัติงานมีระสิทธิภาพมากขึ้น

 

2) ผลการศึกษาทำให้ผู้ที่ทำงานด้านบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ผู้บริหารระดับสูง และหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครน สามารถเข้าใจในปรากฏการณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ของพนักงานขับเครนในองค์กร สามาถทำนาย และคาดหวังในประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับเครนได้ การเตรียมความพร้อม ในการจัดการฝึกอบรมให้พนักงานขับเครนได้เรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะในทุกด้านที่จำเป็น จะทำให้การปฏิบัติงานมีระสิทธิภาพมากขึ้น ได้ การนำไปกำหนดนโยบาย และทิศทางขององค์กรอย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งนำไปเป็นตัวกำหนด หรือหลักเกณฑ์ในการรับสมัครพนักงานใหม่ การใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตฐานในการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับ รวมถึงการให้มีใบอนุญาตขับเครนสำหรับพนักงานขับเครนเพื่อใช้และให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงสนับสนุนประชาคมอาเซียน  

 

Download here: เล่มเต็ม

There are currently 11 Incoterms in use. Some apply to all modes of transport while some are specific to a particular mode. These are the 11 rules briefly explained:
 
▪️EXW (Ex-works): This means that the seller makes the goods available at a specified location, usually the seller’s factory. The buyer is responsible for onward transportation of the goods and bears the cost for the same.
 
▪️DAP (Delivered At Place): The seller is responsible for delivering the goods to a designated place.
 
▪️FOB (Free on Board): The seller completes delivery when he loads the goods on a ship specified by the buyer at a named port. Hence, the seller is “free” of responsibility once the goods are “on board” the ship. Any liability for damage or loss thereafter passes to the buyer. This rule applies to goods transported by sea or inland waterway.
 
▪️FCA (Free Carrier): The seller delivers the goods to a carrier or an agent nominated by the buyer at the seller’s premises or another specified location.
 
▪️FAS (Free Alongside Ship): The seller delivers the goods alongside the ship (on a barge or quay, for example). The buyer must load the goods on the ship. This rule applies only to sea transport.
 
▪️CFR (Cost and Freight): The seller delivers the goods on a ship at the designated port and pays for cost and freight to bring the goods to the port.
 
▪️CIF (Cost, Insurance and Freight): The seller delivers the goods on the ship at the named port and pays for cost, freight and insurance to transport the goods to the port.
 
▪️CPT (Carriage Paid To): The seller delivers the goods to a named place and pays for carriage to that place.
 
▪️CIP (Carriage and Insurance Paid To): The seller delivers the goods to a named place, pays for both carriage and insurance of the goods to that place.
 
▪️DPU (Delivered At Place Unloaded): The seller delivers the goods at a designated place and unloads them, bearing the risks and costs of both. This is the only rule that requires the seller to unload the goods to complete delivery. The buyer takes care of any import clearance charges, taxes and duties.
 
▪️DDP (Delivered Duty Paid): The seller bears the maximum responsibility here as he arranges for carriage and delivery of goods at a named place, and pays for import clearance as well as any duties and taxes that might apply.
 
Credits: Anonymous
 
 
 

Why You Need A Pilot Car For Oversized Loads?

ทำไมจะต้องใช้รถนำขบวนสำหรับการขนส่งของที่มีขนาดใหญ่?

 

ขณะที่มีการขับรถบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ไปตามท้องถนน คุณอาจสงสัยว่าจำเป็นต้องมีรถนำขบวนหรือไม่ มันจำเป็นจริงๆหรือ? คำตอบก็คือ มันขึ้นอยู่กับความปลอดภัยที่คุณต้องการ และมาตราการต่างๆ หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพราะว่าสิ่งที่คุณจะต้องผ่านเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางของคุณ จะมีอุปสรรคมากมายเนื่องจากตัวสินค้าที่มีขนาดใหญ่ของคุณ โครงสร้างต่างๆ ที่อยู่บนถนน สามารถสร้างความเสียหายให้กับสินค้าของคุณได้ และยังเป็นอันตรายต่อผู้ที่สัญจรทั่วไปได้อีกด้วย คุณจะต้องเข้าใจเป้าหมายของคุณก็คือ การส่งมอบสินค้าของคุณไปยังปลายทางอย่างปลอดภัยและไม่มีความเสียหาย

 

Are Pilot Cars Required?

จำเป็นจะต้องใช้รถนำขบวนหรือไม่?

 

ข้อกำหนดสำหรับการใช้รถนำขบวนจะแตกต่างกันไปออกไป โดยส่วนใหญ่ทางราชการมักจะขอให้ยานพาหนะขนส่งขนาดใหญ่จะต้องใช้รถนำขบวนอย่างน้อย 1 คัน จากการศึกษาพบว่า

กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ใน ข้อ 2 สำหรับรถที่ประกอบตัวถังสำเร็จรูปจากต่างประเทศ และได้รับการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้บรรทุกของไม่เกินส่วนกว้าง ส่วนยาว และส่วนสูงของตัวถังที่ใช้บรรทุก

กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2550) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ใน (ก) ระบุว่ารถบรรทุกที่มีความกว้างของรถเกิน 2.3 เมตร ให้บรรทุกสูงไม่เกิน 4 เมตร จากพื้นทาง

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ข้อกำหนดด้านการบรรทุก

  • รถบรรทุกให้บรรทุกสูงไม่เกิน 3.00 เมตร จากพื้นทาง เว้นแต่รถบรรทุกที่มีความกว้างของรถเกิน 2.30 เมตร ให้บรรทุกสูงไม่เกิน 4.00 เมตร จากพื้นทาง
  • รถบรรทุกตู้สำหรับบรรจุสิ่งของ (Container) ให้บรรทุกสูงไม่เกิน 4.20 เมตร จากพื้นทาง

ประกาศ กรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของที่มีขนาดของรถแตกต่างไปจากที่กําหนดในกฎกระทรวงพ.ศ. 2557 กำหนดให้

  • รถพ่วงให้มีความกว้างไม่เกิน 2.55 เมตร ความสูงไม่เกิน 4 เมตร และความยาวไม่เกิน 13.80 เมตร

ที่มา: https://www.thaitruckcenter.com/qmarkv1/UploadFile/KnowledgeSource/-480435883.pdf

  • รถกึ่งพ่วงให้มีความกว้างไม่เกิน 2.55 เมตร ความสูงไม่เกิน 4 เมตร และความยาว ไม่เกิน 16เมตร

ที่มา: https://www.thaitruckcenter.com/qmarkv1/UploadFile/KnowledgeSource/-480435883.pdf

 

  • รถที่มีความกว้างเกิน 2.3 เมตร ให้มีความสูงไม่เกิน 4.5 เมตร และความยาว ไม่เกิน 16 เมตร แต่ทั้งนี้จะต้องมีความกว้างไม่เกิน 3 เมตร
  • รถบรรทุกเฉพาะกิจ รถพ่วงหรือรถกึ่งพ่วงที่มีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เพื่อบรรทุกสิ่งของที่มีขนาดความกว้างของสิ่งของเกิน 2.55 เมตร หรือบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งโดยสภาพของสิ่งของนั้นไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทําลาย ทําให้บุบสลาย หรือทําให้เปลี่ยนแปลง รูปทรงหรือสภาพไป เช่น รถบรรทุกรถขุดตัก รถบรรทุกรถแทรกเตอร์ รถบรรทุกหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ให้มีขนาดความกว้างไม่เกิน 3 เมตร ความสูงไม่เกิน 4 เมตร และความยาวไม่เกิน 16 เมตร ทั้งนี้ หากรถมีความยาวมากกว่า 13.6 เมตร ส่วนที่ใช้ในการบรรทุกของรถจะมีความยาวกว่าสิ่งของ ที่บรรทุกได้ไม่เกิน 1 เมตร

ทั้งนี้ทางราชการได้กำหนดเงื่อนไขในการใช้รถเพิ่มเติม

  1. กรณีรถมีน้ำหนักเกินกว่าที่ทางราชการกําหนด อาจกําหนดเงื่อนไขว่า “การนํารถไปใช้ บนทางหลวงต้องได้รับอนุญาตจากผู้อํานวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อํานวยการทางหลวงแผ่นดิน และผู้อํานวยการทางหลวงสัมปทาน
  2. กรณีรถมีขนาดเกินกว่าที่กําหนดในกฎกระทรวง อาจกําหนดเงื่อนไขว่า “การนํารถไปใช้ บนทางสาธารณะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจรหรือเจ้าพนักงานอื่นที่ดูแลรับผิดชอบเส้นทาง ที่นํารถไปใช้

 

และรถบรรทุกอาจต้องการรถนำขบวนมากกว่าหนึ่งคัน หากสัดส่วนของสินค้าที่บรรทุกมากกว่าที่ระบุไว้ตามข้อกำหนดนี้ ทั้งนี้อสาจขึ้นอยู่กับทางราชการ ซึ่งต้องการให้มีรถนำขบวนมากขึ้น ทำให้การขนส่งขนาดใหญ่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

 

Is a Route Survey Important?

การสำรวจเส้นทางมีความสำคัญหรือไม่?

 

การสำรวจเส้นทาง คือ สิ่งที่ทำให้รถนำขบวนสามารถคุ้มกันรถบรรทุกที่บรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ได้อย่างปลอดภัย ที่ G Attitude รามีบริการดำเนินการสำรวจเส้นทางเพื่อให้แน่ใจว่าถนนปลอดภัย ประเมินความปลอดภัยของถนน โครงสร้างถนน และระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดในเส้นทางที่กำหนด การจราจร สายไฟฟ้า สายสื่อสาร และสิ่งกีดขวางเหนือศีรษะ การสำรวจเส้นทางจึงเป็นเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงที่สำคัญ หากไม่มีสิ่งนี้ ผู้ขับขี่รถนำขบวนก็ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยได้

 

ในทุกๆ วัน บริษัทรถบรรทุกที่มีการขนส่งสินค้าหนัก หรือที่มีขนาดใหญ่เหล่านี้บนทางหลวงอาจก่อให้เกิดความวิตกกังวลกับผู้ที่จะต้องใช้ถนนร่วมกัน แต่ต้องขอบคุณการสำรวจเส้นทาง บริษัทต่างๆ จึงสามารถขนส่งของหนักได้อย่างปลอดภัย การที่มีรถนำขบวนจะปลอดภัยยิ่งขึ้น หากคุณต้องการให้เราบริการสำรวจเส้นทาง โทรหาเราวันนี้!

Subcategories