ทำไมเราใช้ Hydraulic Trailer ขนสินค้าแล้วยังเกิดอุบัติเหตุได้???

ดังที่เรารู้มาว่า Hydraulic Trailer ถูกออกแบบมาให้ความสามารถพิเศษ สามารถรับน้ำหนักสินค้าได้คราวละมาก ๆ มีความสามารถต้าน Camber ของถนนหรือพื้นได้ ไม่ว่าพื้นจะขรุขระหรือสูงต่ำอย่างไร Hydraulic Trailer สามารถพิชิตอุปสรรคนั้นได้ แต่ถ้าหากว่า อุปสรรคนั้นเกินขีดความสามารถของ trailer หรือผู้ออกแบบการใช้งานไม่มีความเข้าใจของระบบ Hydraulic Suspension แล้วละก็ อุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้แน่นอน

ในบริษัทขนส่งชั้นนำของโลกนิยมให้ใช้ Stability Angle หรือ Geometric Limit กรณีที่รถวิ่งในความเร็วมากกว่า 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยค่าที่ได้ต้องไม่น้อยกว่า 8 องศา จึงจะบอกได้ว่าการขนส่งสินค้านั้นๆปลอดภัย สินค้าจะไม่หล่นจากตัว Trailer

รูปที่ 1 แสดง Stability Angle หรือ Geometric Limit

 

เราจะป้องกันอุบัติเหตุนั้นได้อย่างไร???

  • สิ่งแรกที่เราต้องรู้ คือ CoG ของสินค้าอยู่ในตำแหน่งไหน? สูงจากพื้นเท่าไร?
  • ต่อมาเราต้องสร้าง คือ Stability Triangle และ Tipping line จากระบบ Hydraulic Suspension

การจะสร้างกลุ่มของ Hydraulic Suspension นั้น บริษัทขนส่งชั้นนำของโลกนิยมให้ใช้ 3 กลุ่ม ถ้าจัดไม่ได้จริงๆ ก็อนุโลมให้ใช้ 4 กลุ่ม

  

รูปที่ 2 แสดง Hydraulic Suspension แบบ 3 กลุ่ม

รูปที่ 3 แสดง Hydraulic Suspension แบบ 4 กลุ่ม

 

ยกตัวอย่างในกรณีที่ Hydraulic Suspension แบบ 3 กลุ่ม สามารถเขียน Diagram ได้ดังรูปที่ 4 โดยเส้นที่ลากต่อจุดของกลุ่ม Hydraulic Suspension จะเรียกว่า Tipping line ถ้าพล๊อต CoG ออกมาแล้ว และ CoG ยังคงอยู่ในพื้นที่สามเหลี่ยมและ Stability Angle หรือ Geometric Limit ไม่น้อยกว่า 8 องศา ก็ถือว่าผ่าน

รูปที่ 4 แสดง Stability Angle หรือ Geometric Limit

ตัวอย่างเช่น

A-Symmetrical (8+2x8) 3 Point Suspension System

 

 เขียน Diagram จะได้

แรงกระทำที่กลุ่ม D เท่ากับ 1650/9000x203 = 37.22ตัน

  • น้ำหนักลงต่อจุดในกลุ่มนี้ เท่ากับ 22/8 = 4.65ตัน

แรงกระทำที่กลุ่ม E, F เท่ากับ 7350/9000x203 = 165.78ตัน

  • น้ำหนักลงต่อจุดในกลุ่มนี้ เท่ากับ 78/16 = 10.36ตัน

 

จากทฤษฎี Tipping Angle ถ้า CoG อยู่ในขอบของ Tipping line จะเท่ากับ Atan (715/3403) = 11.8 องศา ถือว่าใช้ได้

 

ดังนั้น ยิ่งถ้าเป็นรถเทลเลอร์ทั่วไปแล้วก็ต้องยิ่งระวังเป็นพิเศษในการเลี้ยวเข้าโค้ง เพราะหางเทลเลอร์นั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีระบบต้านลักษณะกายภาพของถนนที่ไม่ราบเรียบ

 

Credit: Rules on Trailer Stability needed or not? : Richard L.Krabbendam Heavy Lift Specialist, World Crane and Transport Summit 2009 

 

ในงานขนส่งที่ต้องใช้รถหัวลากที่มีกำลังลากมากๆ หรือการขนส่งทั่วๆไป วิศวกรจำเป็นต้องรู้ว่ารถหัวลากที่เลือกมาใช้งานนั้น เหมาะสมกับงานขนาดไหน

นี่คือโจทย์ที่สำคัญ และทำให้เรารู้ได้ว่าถ้าจะต้องมีการลากสินค้าขึ้นเนิน หรือขึ้นเขา จำเป็นต้องใช้รถหัวลากกี่หัวจึงจะเพียงพอ

จากประสปการณ์ของผู้เขียน รถหัวลากขนาด 450 แรงม้า สามารถสร้างแรงดึงได้ถึง 20.58 ตัน
แรงขับทั้งหมดของการขนส่งจะกำหนดแรงขับเพื่อการใช้งานสูงสุดแค่ 75% เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

 

Tractive effort required = น้ำหนักรวม x ความต้านทานการหมุนรวม

 

น้ำหนักรวม = น้ำหนักของสินค้า + น้ำหนักอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ในการขนส่ง + น้ำหนักของหางเทลเลอร์

ความต้านทานการหมุนรวมหาได้จาก ความต้านทานการหมุน + ค่าความชัน + ค่าความเร็วลมที่ประทะ 

  • ความต้านทานการหมุน จะมีค่าเป็นเปอร์เซ็นต์
  • ค่าความชัน จะมีค่าเป็นเปอร์เซ็นต์
  • ค่าความเร็วลมที่ประทะ = แรงสูงสุดที่เกิดขึ้นเมื่อลมประทะเทียบกับทิศทางของการเดินทาง เช่น  5 Beaufort ซึ่งสร้างความดัน 7.30 กิโลกรัม / ตารางเมตร ตัวเลขนี้จะถูกคำนวณและเพิ่มลงในความพยายามในการดึงของรถหัวลาก

ถ้าผลจาก Tractive effort required หารด้วยค่าลากจูงของรถหัวลาก (20.58 ตัน) แล้วมีค่าน้อยกว่า 75% นั่นหมายถึง เราสามารถใช้รถหัวลาก 1 คันในการขนส่งสินค้านั้นๆได้