ซึ่งตอนนี้โครงการ อาคารพักผู้โดยสารเรือ Ferry และท่าเทียบเรือ Ferry เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนเพื่อน
ส่วนที่ดูด้วยสายตาว่ากำลังก่อสร้างอยู่คือ พื้นที่ธุรกิจ และกำแพงกันคลื่น และสถานีรถไฟจุกเสม็ด
ที่น่าจะยังไม่เริ่มคือท่าจอดเรือสำราญ แต่ก็ไม่น่าจะยากเพราะใช้สะพานเทียบของเรือบรรทุกน้ำมันเดิม แต่ทำท่าใหม่ให้คนขึ้น-ลงได้ คงใช้เวลาไม่นานถ้าเริ่มทำ ไม่แน่ใจว่าสถานะเป็นอย่างไรบ้าง
ใครพอมีข้อมูลมาบอกหน่อยนะครับ
————————
เรามาดูในรายละเอียด ของอาคารผู้โดยสาร เรือ Ferry และท่าเทียบเรือกันก่อน
โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสำหรับเรือเฟอร์รี่ (FERRY TERMINAL) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 1 อาคาร
มีพื้นที่โครงการ ประมาณ 20,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย
1. อาคารผู้โดยสาร พื้นที่ใช้สอยประมาณ 6,000 ตารางเมตร ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ ในการรองรับผู้เดินทางท่องเที่ยว และการขนส่งทั้งรถยนต์ หรือประเภทล้อเลื่อนอื่นๆ
โดยภายในอาคารผู้โดยสาร ประกอบด้วย
- Souvenir Shops
- Food Court
- Ticket counters
- Restrooms
- Boarding area & Waiting area
2. ปรับปรุงเพิ่มเติมส่วนขึ้นลงเรือเฟอร์รี่ของผู้โดยสาร และรถยนต์บริเวณหน้าท่าเทียบ เรือเฟอร์รี่ (เป็นการดำเนินการต่อเนื่องกับโครงการงานปรับปรุงท่าเทียบเรือหมายเลข 6)
ประกอบด้วย พื้นที่จอดรถยนต์ (Parking Lots) Internet Zone Accommodations
————————
เส้นที่อาจจะมีการเดินเรือที่ท่าเรือ Ferry จุกเสม็ด
ปัจจุบันมีเรือที่ให้บริการอยู่คือ เรือเฟอร์รี่ข้ามอ่าวไทยระหว่างพัทยา-หัวหิน ที่เชื่อมสองฝั่งอ่าวไทย ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง หลังเปิดบริการ 1 ปี มีผู้โดยสาร 60,000 คนต่อปี (อาจจะย้ายปลายทางมาที่จุดเสม็ดด้วย)
เส้นทางที่มีความสนใจจะเดินเรือคือ เส้นทางเดินเรือเฟอร์รี่ข้ามอ่าวไทย ระหว่างท่าเรือจุกเสม็ด-ปากน้ำปราณฯ
โดยท่าเรือจุกเสม็ดกองทัพเรือจะเป็นผู้พัฒนา
ส่วนท่าเรือปากน้ำปราณบุรีกรมเจ้าท่าจะเป็นผู้พัฒนาลงทุน จะเปิดให้เอกชนลงทุน PPP คาดว่าจะใช้เวลาพัฒนา 2 ปี
 
 
——————
ข่าวจากทางฝั่งเอกชนเข้ามาแสดงความสนใจกับเส้นทางเดินเรือเฟอร์รี่ คือ
คุณพีรพงศ์ ประสพสุขเจริญ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและวางแผน บจ.สยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค (SEP)
เปิดเผยว่า บริษัทได้เสนอแผนเดินเรือเฟอร์รี่ 3 เส้นทาง ลงทุน 15,040 ล้านบาท ได้แก่
- พัทยา-หัวหิน
- บางปู-พัทยา
- บางปู-หัวหิน
รวมถึงสนใจพัฒนาเส้นทางปากน้ำปราณฯ-จุกเสม็ด
ซึ่งบริษัทศึกษาโครงการแล้ว มีระยะทาง 110 กม. ลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงครึ่ง
———————
ความคิดเห็นส่วนตัว
คิดว่าตอนนี้ ท่าเรืออาจจะยังอยู่ในจุดที่ห่างไกลชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวมากไป ผมมองว่าจะให้เรือดิ่งตรงมาจอดท่าเรือจุกเสม็ดโดยไม่จอดพัทยา ก็คงจะไม่ได้ ผู้โดยสารคงจะไม่ขึ้นเพราะพัทยา จอดกลางเมือง สำหรับนักท่องเที่ยว สะดวกกว่ามาก
แต่ก็อยากให้มีการเริ่มใช้งานของท่าเรือทันทีเช่นกัน
ดังนั้น อาจจะขอให้สายเรือ ขยายปลายทางจากพัทยา มาสิ้นสุดที่ท่าเรือจุกเสม็ด
เป็นเส้นทาง จุกเสม็ด-พัทยา-หัวหิน
น่าจะทำให้ ท่าเรือจุกเสม็ด มีผู้ใช้บริการ มากขึ้น และที่สำคัญ ต้องมีรถรับ-ส่งจากท่าเรือ ไปที่สนามบินอู่ตะเภา และ ปากทางถนนสุขุมวิท ด้วยเช่นกันครับ
————————
รายละเอียดข่าว
สัตหีบเปิดอาคารผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 พลเรือเอก ชุมศักดิ์ นาควิจิตร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ มาเป็นประธานในพิธีเปิด อาคารผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ -กองทัพเรือ ณ อาคารผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังวัดชลบุรี
โดยมี พลเรือโท วราห์ แทนขำ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ พลเรือตรี สุทิน หลายเจริญ ผู้อำนวยการการท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ดร.เทพรักษ์ เหลืองสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด(มหาชน) นายอนุชา อินทศร นายอำเภอสัตหีบ ดร.สะถิระ เผือกประพันธุ์ สส.เขต8 ชลบุรี ตลอดจนผู้แทนจาหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ
พลเรือโท วราห์ แทนขำ กล่าวว่า การดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร และท่าเรือเฟอร์รี่ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) ที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ พุทธศักราช 2661-2580 ด้านความมั่นคง และค้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในวงเงินงบประมาณ ทั้งสิ้น 255 ล้านบาท
โดยงานก่อสร้างได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2561 แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2562 และเพื่อให้การบริหารจัดการอาคารผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่เกิดประโยชน์สูงสุด ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ -กองทัพเรือ
จึงได้ดำเนินการตามกระบวนการคัดเลือก เพื่อหาผู้ประกอบการที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในด้านการขนส่งทางทะเล ของประเทศเข้ามาบริหารงาน อาคารผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ แห่งนี้
ซึ่งสรุปผลว่าบริษัทนามยง เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ามาบริหารงาน โดยได้มีการ ลงนามในบันทึกข้อตกลง การให้สิทธิเช่าอาคารผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562ที่ ผ่านมา สำหรับการบริหารจัดการท่าเรือเฟอร์รี ยังคงบริหารโดยท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ - กองทัพเรือการบริหารจัดการอาคารผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ โดยบริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด(มหาชน)
จะส่งผลให้กิดการ์พัฒนาและการขนส่งทางทะเล ระหว่างภาคตะวันออกกับภาคใต้ของประเทศไทย มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น และกระตุ้นให้แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ในบริเวณโดยรอบท่าเรือจุกเสม็ด ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง
พลเรือเอก ชุมศักดิ์ นาควิจิตร กล่าวว่า กองทัพเรือ ได้กำหนดแนวทาง/ การใช้ประโยชน์ท่าเรือจุกเสม็ด 2 ด้าน คือด้านเศรษฐกิจ และด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการให้ท่เรือจุกเสม็ด เป็นท่าเรือ One Port Two Mission
โดยการดำเนินการด้านความมั่นคง อยู่ในความรับผิดชอบของ ฐานทัพเรือสัตหีบส่วนด้านเศรษฐกิจ อยู่ในความรับผิดชอบของ คณะกรรมการบริหาร ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ - กองทัพเรือ โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ เป็นโครงการหนึ่ง ในการใช้ประโยชน์ ท่าเรือจุกเสม็ด ทางด้านเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนให้มีการเดินทาง และขนส่งทางทะเลมากขึ้น และนอกเหนือจากการให่บริการเรือพาณิชย์ในการขนส่งสินค้าในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการสนับสนุนและสอดคล้องกับโครงการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ของรัฐบาล