วันนี้จะเล่าถึงการหาผู้รับผิดชอบของทางหลวงโดยเฉพาะประเทศไทยมาฝาก การจะหาผู้รับผิดชอบของทางหลวงที่ถูกต้องนั้นจำเป็นจะต้องเข้าไปตรวจสอบที่ website ของสำนักบำรุงทาง กรมทางหลวง (https://roadnet2.doh.go.th/)

 

เพียงแต่กรอกหมายเลขทางลงไป จากนั้นกดค้นหา ท่านจะพบว่าหมายเลขทางหลวงเส้นนั้นมีผู้ดูแลเป็นหมวดทางหลวงหรือแขวงทางหลวงใด และเป็นผู้รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงทาง โดยแต่ละตอนหรือช่วงจะมีการแยกสี และแสดงหลักกิโลที่ชัดเจน รวมถึงสามารถบอกตำแหน่งของสะพานได้อีกด้วย 

 

จากข้อมูลดังกล่าวนี้เอง เราสามารถนำไปใช้อ้างอิงและใช้ประกอบเอกสารการขออนุญาตเดินรถพิเศษบนทางหลวงได้

 

อ้างอิงจาก https://roadnet2.doh.go.th/

Kano Model เกิดขึ้นตั้งแต่ยุค 80s และถูกพัฒนาโดย Noriaki Kano นำเสนอโมเดลเครื่องมือช่วยเหลือในการวิเคราะห์ประสบการณ์ของลูกค้าที่ได้จากสินค้า/บริการ ของธุรกิจ

 

Kano Model ช่วยให้เรารู้ว่าสินค้า/บริการ สามารถสร้างความพึงพอใจกับลูกค้าได้ในระดับใด เหมือนหรือแตกต่างจากคู่แข่ง

 

Kano Model นำเสนอ 3 คุณสมบัติที่แตกต่าง ได้แก้ Basic, Performance และ Delighter โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

ภาพจาก: http://baymard.com/

 

1. Basic Attribute หรือ Dissatisfied เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต้องมี หากไม่มีก็จะไม่สามารถใช้งานได้ หรือส่งผลต่อความไม่พอใจของลูกค้าอย่างมากยกตัวอย่างเช่น เมื่อซื้อรถ รถจะต้องขับได้ และเลี้ยวได้

 

2. Performance Attribute หรือ Satisfied เป็นคุณลักษณะที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าที่สามารถจูงใจให้ลูกค้ายอมควักกระเป๋าเงิน เพื่อซื้อสินค้า/บริการ จากเดิมมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ซื้อรถราคาปกติที่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่ได้ฟังก์ชั่นหรือโหมดประหยัดน้ำมัน

 

3. Delight Attribute เป็นคุณลักษณะที่เกินความคาดหมายของลูกค้า และหากมีจะส่งผลให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ซื้อรถราคาปกติที่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่ได้ฟังก์ชั่นหรือโหมดประหยัดน้ำมัน แล้วยังได้ซันรูฟแบบเต็มหลังคา ระบบควบคุมอิเล็กโทรนิคส์ ระบบ Sensor ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์

 

"การแข่งขันทางธุรกิจที่มีสินค้า/บริการ หน้าตาและรูปแบบเหมือนๆกัน แต่การส่งมอบประสบการณ์ที่แปลกใหม่ แตกต่าง และมีคุณภาพ ย่อมสามารถสร้างความพึงพอใจระดับสูงสุดให้ลูกค้าได้"

นี่คือสิ่งที่ G Attitude กำลังมอบให้กับลูกค้า

ถ้าตามวัตถุประสงค์คำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากร คำว่า “รถพ่วง” จะหมายรวมถึง "รถกึ่งพ่วง (เซมิเทรลเลอร์)" ดังนี้

“รถพ่วง”  และ “รถกึ่งรถพ่วง (เซมิเทรลเลอร์)” หมายถึง ยาน (นอกจากรถพ่วงข้าง) ชนิดที่ถูกออกแบบเฉพาะที่จะถูกประกบพ่วงกับยานอื่นโดยใช้อุปกรณ์ประกับพิเศษ (จะอัตโนมัติหรือไม่ก็ตาม)


รถพ่วงและรถกึ่งรถพ่วง (เซมิเทรลเลอร์) แบบที่สำคัญที่สุด คือ ถูกออกแบบสำหรับใช้กับยานยนต์ รถพ่วงโดยปกติมีชุดล้อตั้งแต่สองชุดขึ้นไป และระบบคู่ต่อประกบถูกติดตั้งบนล้อหน้าที่หมุนได้ซึ่งนำทางยานดังกล่าว

รถกึ่งรถพ่วง (เซมิเทรลเลอร์)
ประกอบติดด้วยล้อหลังเท่านั้น ปลายสุดของหน้ารถวางบนแท่นของยานที่ใช้ลากซึ่งรถกึ่งรถพ่วงดังกล่าวถูกต่อประกบโดยอุปกรณ์ประกับพิเศษ

แต่ ความหมายทางด้านเทคนิคแล้ว...

 

"รถพ่วง" หมายถึง รถที่ไม่มีเครื่องยนต์สำหรับใช้ขับเคลื่อนเองจึงไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ด้วยตนเอง ต้องมีแรงภายนอกมา ลากจูง เช่น รถหัวลาก, แรงงานจากสัตว์เลี้ยง รวมทั้ง เครื่องจักรกลภายนอกอื่น ๆ รถพ่วงที่ใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวางใน ปัจจุบัน ใช้รถหัวลากมาลากจูงใช้กับการขนส่งสินค้า และวัตถุสิ่งของต่างๆ รถพ่วงที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปสามารถจำแนกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 2 ลักษณะ คือ

 

1. รถกึ่งพ่วง หรือที่เรียกว่า Semi Trailer คนไทยนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า “รถเทรลเลอร์” มีลักษณะคือรถหัวลากติดตั้ง จานเทรลเลอร์ (Fifth Wheel) รถกึ่งพ่วงใช้บรรทุกน้ำหนัก เช่น มีกระบะบรรทุก เป็นต้น การรับน้ำหนักบรรทุกรถหัวลากและรถกึ่งพ่วง จะรับน้ำหนักบรรทุกร่วมกัน ไม่สามารถแยกกันทำงานได้ ถ้าถอดรถ กึ่งพ่วงออกรถหัวลากจะไม่สามารถใช้บรรทุกใดๆ ได้

3axis-floor

รูปที่ 1 รถกึ่งพ่วง หรือที่เรียกว่า Semi Trailer

ที่มา: http://kp-website.com/

 

2. รถพ่วงหรือที่เรียกว่า Full Trailer หรือ Drawbar Trailer มีลักษณะเด่นคือ มีรถหัวลากที่มีกระบะบรรทุก การรับ น้ำหนักของโครงคัสซีระหว่างรถหัวลากกับรถพ่วงแยกเป็นอิสระจากกัน ต่อพ่วงกันด้วยอุปกรณ์ลากจูง ถ้าถอดหางพ่วงออก รถหัว ลากก็สามารถใช้บรรทุกขนส่งสินค้าได้

 

รูปที่ 2 รถพ่วงหรือที่เรียกว่า Full Trailer หรือ Drawbar Trailer

ที่มา: www.nooteboomshop.com

 

ดังนั้น เมื่อ เราต้องการนำรถเหล่านี้ไปใช้งานควรพิจารณาให้ถูกต้องตามน้ำหนักบรรทุกที่รับได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการขนส่ง และเหมาะสมกับสินค้าที่บรรทุก

 

ทิ้งท้ายให้เป็นข้อมูล ดังนี้ รถเทรลเลอร์พื้นเรียบ 2  -  3  เพลาจะมี พื้นที่วางของ กว้าง 2.5 x ยาว 12 - 20 เมตร โดยน้ำหนักหางเปล่าจะประมาณ 10  ตัน

รถเทรลเลอร์หาง 12 เมตร รับน้ำหนักบรรทุกได้ประมาณ 25 - 30 ตัน  ความสูงไม่เกิน 3 เมตร
รถเทรลเลอร์หาง 14 เมตร รับน้ำหนักบรรทุกได้ประมาณ 25 ตัน  ความสูงไม่เกิน 3 เมตร
รถเทรลเลอร์หาง 16 เมตร รับน้ำหนักบรรทุกได้ประมาณ 23 ตัน  ความสูงไม่เกิน 3 เมตร
รถเทรลเลอร์หาง 18 เมตร รับน้ำหนักบรรทุกได้ประมาณ 22 ตัน  ความสูงไม่เกิน 2.5 เมตร
รถเทรลเลอร์หาง 20 เมตร รับน้ำหนักบรรทุกได้ประมาณ 20 ตัน  ความสูงไม่เกิน 2.5 เมตร

 

กฎหมายอนุญาตให้รถบรรทุกน้ำหนักได้เท่าไหร่???

กฎหมายควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกประเภทต่างๆแบ่งออกดังนี้

1. รถกระบะ กฎหมายอนุญาตให้รถกระบะบรรทุกของได้ไม่เกิน 1,100 กิโลกรัม หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วรถกระบะที่บรรทุกของเยอะๆ สูงๆ นั้นผิดกฎหมายหรือเปล่า คำตอบคือ มีทั้งถูก และผิด

  • ถูกคือ เมื่อต้องการให้รถบรรทุกน้ำหนักมากกว่า1,100 กิโลกรัม จะต้องติดต่อสำนักงานขนส่งเพื่อขออนุญาตให้ถูกต้อง เช่น รถที่เปลี่ยนเพลา เสริมแหนบ และรถที่ดัดแปลงให้บรรทุกได้น้ำหนักเยอะๆ
  • ผิดคือ รถที่เปลี่ยนเพลา เสริมแหนบ และรถที่ดัดแปลงให้บรรทุกได้น้ำหนักเยอะๆ แต่ยังไม่ได้ขออนุญาตจากขนส่งให้เรียบร้อย

2. รถหกล้อ กฎหมายอนุญาตให้ รถหกล้อบรรทุก ของได้ไม่เกิน 15 ตัน (รวมน้ำหนักของรถ) ไม่ว่าจะเป็นรถหกล้อ เล็ก ใหญ่ กลาง น้ำหนักบรรทุกต้องไม่เกิน 15 ตัน

3. รถสิบล้อ กฎหมายอนุญาตให้ รถสิบล้อบรรทุกสินค้าได้ไม่เกิน 25 ตัน (รวมน้ำหนักของรถ)

   

Subcategories