โดย วรศักดิ์ เนินผา

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ ภาควิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์

 

1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะของพนักงานขับเครนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

 

2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยข้อมูลพื้นฐาน กับ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับเครน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นพนักงานขับเครนใน จังหวัดชลบุรี จานวน 124 คน โดยคำนวณตามแนวคิดของเครจซี่และมอร์แกน และวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้การิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ไคสแควร์ 

 

ผลการวิจัยพบว่า 

 

1) ปัจจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานขับเครน ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับเครน อันเนื่องมาจากพนักงานแต่ละคนได้รับมอบหมายงานในลักษณะที่ต้องปฎิบัติตามขั้นตอน กระบวนการทำงานในใบสั่งงาน ซึ่งจะต้องมีผู้ควบคุมงานกำกับในทุกขั้นตอนของการทำงาน ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอนนั้น ๆ อย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลงานตามใบสั่งงานของบริษัท ดังนั้น การมองคุณภาพงานที่ตนเองปฏิบัติอยู่จึงให้ความสำคัญกับผลของงาน จึงทำให้ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานขับเครน มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่ต่างกัน ภายใต้การใช้ทักษะเฉพาะของแต่ละคน 

 

2) ปัจจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ เพศ การผ่านการฝึกอบรมเป็นพนักงานขับเครน และประเภทของเครนที่ขับได้ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับเครน น่าจะมีสาเหตุดังต่อไปนี้ ปัจจัยข้อมูลพื้นฐานด้านเพศ พบว่า เพศชาย มีทักษะที่สูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อันเนื่องมาจากพนักงานขับเครน ส่วนใหญ่เป็นพนักงานชาย ซึ่งจะมีความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงทางกายภาพมากว่าเพศหญิง และพนักงานชายสามารถปฏิบัติงานเชิงรุกได้ดี สามารถปฏิบัติงานงานภาคสนาม งานด้านฮาร์ดแวร์ การปฏิบัติงานที่เร่งด่วน สามารถปฏิบัติงานนอกเวลาได้ ปัจจัยข้อมูลพื้นฐานด้านการผ่านการฝึกอบรมเป็นพนักงานขับเครน และด้านประเภทของเครนที่ขับได้ พบว่า พนักงานที่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี เคยผ่านการฝึกอบรมเป็นพนักงานขับเครน และด้านประเภทของเครนที่ขับได้ คือ เครนล้อยาง มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากที่สุด

 

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลการวิจัย

 

1) ผลการศึกษาทำให้ทราบความสำคัญของทักษะของพนักงานขับเครน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับเครน โดยเฉพาะทักษะทางด้าน Soft Skills ที่ต้องมีความเข้าใจทางสังคมและความต่างในวัฒนธรรม การมีผลงานและความรับผิดชอบ มีความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว มีการริเริ่มและการชี้นำตนเอง และมีภาวะความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้นจะต้องเตรียมความพร้อม ในการจัดการฝึกอบรมให้พนักงานขับเครนได้เรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะในทุกด้านที่จำเป็น จะทำให้การปฏิบัติงานมีระสิทธิภาพมากขึ้น

 

2) ผลการศึกษาทำให้ผู้ที่ทำงานด้านบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ผู้บริหารระดับสูง และหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครน สามารถเข้าใจในปรากฏการณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มีอยู่ของพนักงานขับเครนในองค์กร สามาถทำนาย และคาดหวังในประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขับเครนได้ การเตรียมความพร้อม ในการจัดการฝึกอบรมให้พนักงานขับเครนได้เรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะในทุกด้านที่จำเป็น จะทำให้การปฏิบัติงานมีระสิทธิภาพมากขึ้น ได้ การนำไปกำหนดนโยบาย และทิศทางขององค์กรอย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งนำไปเป็นตัวกำหนด หรือหลักเกณฑ์ในการรับสมัครพนักงานใหม่ การใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตฐานในการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับ รวมถึงการให้มีใบอนุญาตขับเครนสำหรับพนักงานขับเครนเพื่อใช้และให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงสนับสนุนประชาคมอาเซียน  

 

Download here: เล่มเต็ม